พิธีอัญเชิญกงล้อธรรมจักรขึ้นสู่แท่น

 พิธีอัญเชิญกงล้อธรรมจักรขึ้นสู่แท่น ณ สำนักวิปัสสนาแม่ชีรัชดา อมาตยกุล

กงล้อธรรมจักรชิ้นนี้เป็นหินสีเหลืองเหมือนสีองค์พระพุทธรูปยืน (พระพุทธมหาศรีโคตมะมหามุนี) เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๙๐ เมตร น้ำหนักเกือบ ๒ ตัน ตรงกลางธรรมจักรได้บรรจุลูกแก้วสีน้ำเงินและเขียวไว้                                                     
-        ลูกแก้วสีน้ำเงิน เป็นสัญลักษณ์แทนสถาบันพระมหากษัตริย์
-        หินแผ่นสีเหลือง  พระศาสนา (พระศาสนา คู่องค์กษัตริย์ตรา พระศาสดาฝากไว้ให้คู่กัน)
-        และสีเขียว  นำใส่ตรงกลางกงล้อพระธรรมจักร
หมายรวม   สันติสุขร่มเย็นทั่วหน้า ทั้งแผ่นดินด้วยพระบารมีธรรม พร้อมทศพิธราชธรรม

ความหมายของสัญลักษณ์รูปวงล้อธรรมจักร
คำว่า "ธรรมจักร" คำที่เหล่าภุมมเทวดาผู้ฟังปฐมเทศนากล่าวนั้น มาจากคำสองคำคือ ธรรม และ จักร
         ธรรม นั้น คือความจริงแท้ สภาพที่แท้จริง หรือความดีงาม
         จักร แปลโดยทั่วไปว่า ล้อ (ซึ่งในความหมายเชิงลึกคือ สิ่งที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนดำเนินไปนั่นเอง)
         ธรรมจักร จึงมีความหมายว่า ล้อแห่งธรรม  คือจักรแห่งธรรมอันประเสริฐที่พระพุทธเจ้าได้ทรงหมุนให้ขับเคลื่อนไปในใจของชาวโลก เพื่อให้ได้ตรัสรู้ธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้นั่นเอง ต่อมารูปธรรมจักร จึงถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา ตามธัมมจักกัปปวัตตนสูตรซึ่งเป็นปฐมเทศนาของพระองค์
ธรรมจักรที่รัชตะธรรมสถานเป็นธรรมจักร ๓๒ ซี่ ซึ่งเป็นแบบที่เก่าแก่ที่สุดตามแบบพระเจ้าอโศกมหาราชที่อินเดียสร้างไว้คู่กับหัวสิงห์ (เสาอโศก)
๓๒ ซี่นี้ หมายถึง  ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายเกิด ๑๒ ฝ่ายดับ ๑๒ รวม ๒๔ และ มรรค มีองค์ ๘ รวมเป็น ๓๒
ส่วนธรรมจักรบางที่ เป็น ๘ ซี่ หมายถึง มรรค มีองค์ ๘
 ๑๒ ซี่ หมายถึง อริยสัจ ๔ วน ๓ รอบ (สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ)
๓๗ ซี่หมายถึง โพธิปักขิยธรรม ๓๗

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น